วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ลดต้นทุน 50% เพิ่มผลผลิต สร้างชีวิตที่ดีให้เกษตรกร

อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลัก ของคนไทยมาช้านานแล้ว เป็นอาชีพที่คอยสร้างอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ผู้คนทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ต้องตรากตรำทำงานหนัก การเกษตรในช่วงเวลาที่ผ่านมาทำให้เกษตรกรยากจน สุขภาพ ย่ำแย่ลงทุกวัน
ถึงเวลาของเกษตรกรยุคใหม่ ยุคเกษตรอินทรีย์ด้วยผลิตภัณฑ์การเกษตรอินทรีย์ GSRI แล้ว!

ด้วยสโลแกนของบริษัทว่า " จีเอสอาร์ไอ คู่ใจเกษตรกร ปลอดภัยผู้ใช้ มั่นใจผู้บริโภค " ที่จะทำให้เกษตรกร มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากต้นทุนที่ใช้ในการผลิตที่ลดลง ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น การลดและเลิกใช้สารเคมีนอกจากจะทำให้เกษตรกรผู้ผลิต ห่างไกลจากการใช้สารเคมีที่เป็นพิษแล้ว ยังทำให้ผู้บริโภคผลิตผลทางการเกษตรเหล่านั้น ได้บริโภคพืชอินทรีย์หรือพืชปลอดสารพิษทำให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย
เกษตรอินทรีย์ คืออะไร
เกษตร อินทรีย์คืออะไร เป็นคำพูดที่ไม่แน่ใจว่า ผู้คนจะเข้าใจลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด ดังที่กล่าวมาแล้วว่าเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในยุโรปดังนั้น
นิยาม ของเกษตรอินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างจากผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ และผักอนามัยดังนี้
เกษตรอินทรีย์คือ
ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลย์ของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยา
ที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ
และ หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษใน สภาพแวดล้อม
เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถ ต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย

ข้อมูลการตลาดเกษตรอินทรีย์
ตลาดเกษตรอินทรีย์ของโลกในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านบาท โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่สหภาพยุโรป 250,000 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 200,000 ล้านบาทและญี่ปุ่น 45,000 ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปจะสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25 – 50 อย่างไรก็ตามปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมทั้งโลกในปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1 ดังนั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายในตลาดโลกของประเทศไทยยังมีอยู่มาก
ปี พ.ศ. 2542 – 2546 กรม ส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการนำร่องการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อการส่งออกร่วมกับบริษัทส่งออก จำนวน 6 บริษัทตั้งเป้าหมายการผลิตพืชอินทรีย์ 6 ชนิด เพื่อการส่งออก คือ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน กล้วยไข่ สับปะรด กระเจี๊ยบเขียว และขิง เพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดโลก ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณปีละ 5 – 6 แสนล้านบาท
§ความต้องการของตลาดส่วนใหญ่เติบโตอยู่ในต่างประเทศเช่น §ประเทศในสหภาพยุโรปมีมูลค่าประมาณ 250,000 ล้านบาทต่อปี สหรัฐอเมริกามูลค่าประมาณ 200,000 ล้านบาทต่อปี
ประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาทต่อปี
§
โดยอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25.50 ปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่ในตลาดโลกปัจจุบันมีเพียงร้อยละ 1ดัง นั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเพื่อส่งออกไป ขายในตลาดโลกยังมีอยู่มาก กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาศาสตร์ ได้จัดทำโครงการนำร่องการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อการส่งออกร่วมกับบริษัทผู้ส่ง ออกของไทย ตั้งเป้าหมายการผลิตพืชอินทรีย์ 6 ชนิดเพื่อการส่งออกคือ หน่อไม้ฝรั่ง, ข้าวโพดฝักอ่อน, กล้วยไข่, สับปะรด, กระเจี๊ยบเขียว และขิงเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการนี้ในปี พ.ศ. 2542 ถึงปี พ.ศ. 2544
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้จัดงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากประเทศไทย ณ ประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และ มีแผนที่จะนำเอาสินค้าเกษตรอินทรีย์คุณภาพดีจากประเทศไทย ออกไปแสดงในงานมหกรรมแสดงสินค้าที่ต่างประเทศจัดขึ้นในหลายประเทศ เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย