วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หมดเวลาของยุคเกษตรเคมีแล้ว

การผลิตพืชผลทางการ เกษตรในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาสารเคมีที่ผ่านการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์มาตลอด เนื่องจากเกษตรกรยังไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงผลเสียในระยะยาวที่จะเกิดขึ้น จากการใช้สารเคมีเหล่านั้น อีกทั้งยังขาดความรู้ในผลิตพืชผลการเกษตรในรูปแบบของการเกษตรอินทรีย์อีก ด้วย
การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ก่อให้เกิดความ ไม่สมดุลในแร่ธาตุ และกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหายและไร้สมรรถภาพความไม่สมดุลย์นี้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้นได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลิตผลมี แร่ธาตุ วิตามิน และพลังชิวิตต่ำ เป็นผลทำให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองของพืช พืชจะอ่อนแอขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้การคุกคามของแมลงเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจะนำไปสู่ใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหารและระบบการเกษตรของเรา ซึงก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน

จากรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ 4 ของโลก ใช้ฮอร์โมนเป็นอันดับ 4 ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร เป็นเงินสามหมื่นล้านบาทต่อปี เกษตรต้องมีปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูก ทำให้เกิดการลงทุนสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตในรอบ 20 ปีไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลให้เกษตรขาดทุน มีหนี้สิน การเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้
การเกษตรสมัยใหม่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากดังนี้
1. ความอุดมสมบูรณ์ลดลง
2. ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีจึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม
3. เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาดทำให้เกิดความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด
4. แม่น้ำและทะเลสาบปนเปื้อนด้วยสารเคมีและความเสื่อมโทรมของดิน
5. พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณที่กำหนด ทำให้เกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค
6. สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากที่จะเยียวยาให้กลับคืนมาดังเดิม
นอกจากนั้นการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมซึงเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรค
ระบาดได้ง่ายจึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมากทำให้ตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ ส่งผลต่อผู้บริโภค โรควัวบ้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหมือนสัญญาณอันตรายที่บอกให้รู้ว่าการลี้ยง สัตว์แบบอุตสาหกรรมไม่เพียงเป็นการทรมานสัตว์ แต่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วย

ผลเสียจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร
ในโลกของเรานี้ มีสารเคมีที่มนุษย์เราผลิตขึ้นประมาณ 600,000ชนิด ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ 60,000 ชนิด ใช้ในชีวิตประจำวัน และมีสารเคมีเกิดขึ้นใหม่ปีละ 1,000 ชนิด สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรพบว่าเป็นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 150 ชนิด องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้สำรวจพบว่า มีคนป่วยด้วยสารเคมีปีละ 750,000 คน และเสียชีวิตปีละประมาณ 50,000คน เสียชีวิตเนื่องจากน้ำไม่สะอาดปีละ 25,000 คน ผลเสียที่พบว่าเกิดจากการใช้สารเคมี คือทำให้ภูมิต้านทานลดลงอันเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จากข้อมูลการเสียชีวิตในประเทศไทย ปี 2540 พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุต่างๆ เรียงตามลำดับได้ดังนี้
อันดับ 1 อุบัติเหตุ 18เปอร์เซ็นต์
อันดับ 2 โรคหัวใจ 14เปอร์เซ็นต์
อันดับ 3 โรคมะเร็ง 9 เปอร์เซ็นต์
อันดับ 4 โรคตับ 3 เปอร์เซ็นต์
แต่ในระยะสองปีที่ผ่านมา (2544-2545) พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากมะเร็งมาเป็นอันดับ 1 สองปีติดต่อกันแล้ว ปีละประมาณ 50,000 ราย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานอาหารที่ผิดๆ และมีสารปนเปื้อน นอกจากสารเคมีหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็งแล้ว ยังมีพิษต่อระบบประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้ผู้ชายมีอสุจิอ่อนแอ ทำให้มีบุตรยาก
นอกจากมีผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตแล้วการใช้เคมีนานๆยังทำให้แมลงมีความต้านทานต่อยาปราบศัตรูพืชอีกด้วยโดยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2539 ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าพบแมลงมากกว่า 500 ชนิด ต้านทานต่อยาฆ่าแมลงที่ฉีด ทำให้ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่มากขึ้น
ผลเสียอีกประการที่ตามมาคือทำให้พันธุ์พืชดั่งเดิมสูญหายโดยในประเทศสหรัฐอเมริการายงานว่าจากเดิมมีพันธ์พืชดั่งเดิม อยู่ประมาณ 80,000 ชนิด ปัจจุบันพบเหลืออยู่เพียง 150 ชนิด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ ในประเทศเยอรมัน ตลอดระยะ 20 ปี ที่ผ่านมาไม่พบสาหร่ายน้ำในแม่น้ำเกิดขึ้นเลย ในประเทศแคนนาดาในพื้นที่ 6 ไร่ 1 งาน จะพบว่ามีต้นไม้ขึ้นอยู่เพียง 1-5 ชนิด เท่านั้น
ประเทศออสเตรเลีย ปีพ.ศ. 2537 พบโลหะหนักปนเปื้อนในผักและผลไม้ที่ปลูกในนครซีดนีย์สูงกว่าปริมาณที่ยอมรับได้ 11เท่า
นอกเหนือจากนั้น ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือสารเคมีบางอย่างตกค้างอยู่ในระบบนิเวศน์นาน บางชนิดอยู่นานถึง 3 ปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น